ระเบียบกองทัพบก                                              
                                                   ว่าด้วยการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์
                                                             พุทธศักราช 2500

ดาวโหลด : วิชาการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์

                                                                   ตอนที่ 1
                                                                 กล่าวทั่วไป

         ข้อ 1. ความมุ่งหมาย เพื่อให้การส่ง และรับสิ่งอุปกรณ์  ดำเนินไปสมความมุ่งหมายของทางราชการจึงได้ตราระเบียบนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบและกรมมวิธีในการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์ระหว่างที่ตั้งการส่งกำลังต่าง ๆ กับหน่วยผู้ใช้
ข้อ2 ระเบียบนี้ให้ชื่อว่า "ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์
พุทธศักราช 2500"
ข้อ 3. ระเบียบนี้ให้ใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2501 เป็นต้นไป
ข้อ 4. คำจำกัดความ คำหรือข้อความต่าง ๆ ที่ใช้ในระเบียบนี้ให้มีความหมายดังต่อไปนี้.-
       ก. การส่งและรับสิ่งอุปกรณ์  หมายถึงการส่งไป, การส่งกลับ  และการรับสิ่งอุปกรณ์ระหว่าง                           หน่วยส่ง, หน่วยทหารขนส่งและหน่วยรับ
          1) การส่งไป  หมายถึง   การส่งสิ่งอุปกรณ์ใน ล ักษณะใดล ักษ ณะหนึ่งดังนี้.
             ก) การส่งสิ่งอุปกรณ์  จากท่าเรือไปยังคลังสายยุทธบริการ  หรือคลัง  สายบริการ                                 ฝ่ายกิจการพิเศษ
             ข) การส่งสิ่งอุปกรณ์ระหว่างคลังสายยุทธบริการ   หรือคลังสายบริการฝ่าย กิจการ                               พิเศษ
             ค) การส่งสิ่งอุปกรณ์จากคลังสายยุทธบริการ หรือคลังสายบริการฝ่ายกิจการ                                       พิเศษไปยังส่วนภูมิภาคหรือหน่วยสายยุทธบริการที่สนับสนุนโดยตรงหรือหน่วยผู้ใช้
                                   ง) การส่งสิ่งอุปกรณ์จากคลังส่วนภูมิภาคไปยังหน่วยสายยุทธบริการที่สนับสนุน                                   โดยตรงหรือหน่วยใช้
             จ)การส่งสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยสายยุทธบริการที่สนับสนุนโดยตรง ไปยังหน่วย ผู้                                  ใช้
                           2) การส่งกลับ หมายถึง การปฏิบัติอันเป็นทางตรงกันข้ามกับการส่งไป
                   ข. หน่วยส่ง
          1) ในการส่งไป "หน่วยส่ง" หมายถึงคลังสายยุทธบริการ, คลังสายบริการฝ่ายกิจการ                            พิเศษ คลังส่วนภูมิภาคและหน่วยสายยุทธบริการที่สนับสนุนโดยตรง ซึ่งมีหน้าที่แจกจ่าย                        สิ่งอุปกรณ์ตามสายการส่งกำลัง
      2) ในการส่งกลับ “ หน่วยส่ง ” หมายถึง หน่วยผู้ใช้, หน่วยสายยุทธบริการที่สนับสนุน                            โดยตรง คลังส่วนภูมิภาค, คลังสายยุทธบริการ หรือคลังสายบริการฝ่ายกิจการพิเศษ ซึ่ง                          มีหน้าที่ในการส่งกลับสิ่งอุปกรณ์ตามสายการส่งกลับ
       ค. หน่วยทหารขนส่ง หมายถึง หน่วยใด ๆ ของทหารขนส่ง ซึ่งรวมทั้งหน่วยสำนักงานหน่วย              ปฏิบัติการ  และหน่วยกำลังทหาร
       ง. สำนักงานขนส่ง หมายถึง  สำนักงานของทหารขนส่ง  ซึ่งจัดไว้ในอัตราของกรมการขนส่ง            ทหารบก คลังสายยุทธบริการ คลังสายบริการฝ่ายกิจการพิเศษ  มณฑลทหารบก จังหวัดทหารบก            หรือหน่วยทหารใด ๆ ที่มีอัตราสำนังานขนส่งระบุไว้เพื่อทำหน้าที่ทั้งปวงเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย              กำลังพลและสิ่งอุปกรณ์ ในกรณีที่ยังมิได้บรรจุกำลังเจ้าหน้าที่ของสำนักงานขนส่งประจำหน่วยใด            ดังกล่าวข้างต้นให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยนั้นจัดเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยของตนทำหน้าที่แทน                        สำนักงานขนส่งจนกว่าจะบรรจุกำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งนั้น ๆ   หากไม่สามารถดำเนินการ              ได้ใน ครั้งคราวใด ให้หน่วยทหารขนส่งใกล้เคียงให้ความสนับสนุน
  สำนักงานขนส่ง แบ่งออกตามภารกิจ ดังนี้.
                           1) สำนักงานขนส่งต้นทาง หมายถึง สำนักงานขนส่งซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนส่งสิ่ง                                  อุปกรณ์จากตำแหน่งที่สิ่งอุปกรณ์ตั้งอยู่ไปยังสำนักงานขนส่งปลายทางหรือหน่วยรับ      
                           2) สำนักงานขนส่งปลายทาง  หมายถึง สำนักงานขนส่งซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรับ
                       สิ่งอุปกรณ์ที่สำนักงานขนส่งต้นทางส่งมาแล้วส่งต่อไปจนถึงที่หมายปลายทาง
       จ. หน่วยรับ
                           1) ในการส่งไป "หน่วยรับ" หมายถึง คลังสายยุทธบริการ คลังสายบริการฝ่ายกิจการ                            พิเศษ  คลังส่วนภูมิภาค หน่วยสายยุทธบริการที่สนับสนุนโดยตรง และ หน่วยผู้ใช้ ซึ่ง                              มีหน้าที่รับสิ่งอุปกรณ์ตามที่หน่วยส่งจัดส่งมาตามสายการส่งกำลัง          
                           2) ในการส่งกลับ  “ หน่วยรับ ”  หมายถึง หน่วยสายยุทธบริการที่สนับสนุนโดยตรง  
                       คลังส่วนภูมิภาค คลังสายยุทธบริการ และคลังสายบริการฝ่ายกิจการพิเศษ ซึ่งมีหน้าที่รับ                        สิ่งอุปกรณ์ตามที่หน่วยส่งจัดส่งมา ตามสายการส่งกลับ
       ฉ. คลังสายยุทธบริการ หมายถึง คลังที่จัดตั้งและควบคุมโดยสายยุทธบริการของ
           กองทัพบกเพื่อส่งคลังที่จัดตั้งและควบคุมโดยสายยุทธบริการของกองทัพบกเพื่อส่งกำลังสิ่ง                  อุปกรณ์ตามชนิดและประเภทที่ได้รับมอบหมาย
  ช. คลังสายบริการฝ่ายกิจการพิเศษ  หมายถึง คลังที่จัดตั้งและควบคุมโดยสยบริการ  ฝ่าย                กิจการพิเศษของกองทัพบกเพื่อส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ตามชนิดและประเภทที่ได้รับมอบหมาย
       ซ. คลังส่วนภูมิภาค หมายถึง คลังมณฑลทหารบก หรือคลังจังหวัดทหารบก  ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อ                ทำหน้าที่ส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ อันจำเป็นสำหรับสนับสนุนหน่วยผู้ใช้ต่าง ๆ ในพื้นที่มณฑลทหารบก            หรือ จังหวัดทหารบกนั้น ๆ
       ณ. หน่วยสายยุทธบริการที่สนับสนุนโดยตรง หมายถึง หน่วยสายยุทธบริการ ซึ่งมีภารกิจ                  สนับสนุนในด้านการส่งกำลังต่อ
          1) หน่วยในอัตราการจัดของหน่วยระดับกองพลขึ้นไป (เช่น สพบ.พล.ม.เป็นต้น)
          2) หน่วยภายในพื้นที่ซึ่งได้รับมอบหมายให้สนับสนุน
       ญ. หน่วยผู้ใช้ หมายถึง หน่วยซึ่งมีหน้าที่ในการเบิก - รับ  และเก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์ ใช้ภายใน             หน่วยของตนเอง และให้ถือหน่วยขนาดกองพันหรือเทียบเท่าขึ้นไป รวมทั้งหน่วยซึ่งปฏิบัติ การ               เป็นอิสระด้วย  สำหรับระดับกองร้อยใช้ใบเบิกภายในหน่วย ( ทบ.400 – 006 ) โดยเก็บไว้ที่หน่วย
            1ชุด  (แก้ไขเพิ่มเติมคำชี้แจงที่30/22632(ครั้งที่1)27ก.ค. 02)
       ค. ผู้เบิก หมายถึง ผู้มีอำนาจเบิกสิ่งอุปกรณ์ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
       ต. ผู้สั่งจ่าย  หมายถึง  ผู้มีอำนาจอนุมัติในการจ่ายสิ่งอุปกรณ์ตามที่ผู้บังคับบัญชา
                       มอบหมาย
       ถ. เอกสาร  หมายถึง เอกสารทั้งปวงที่เกี่ยวข้องในการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์   ซึ่ง                                  กำหนดขึ้นเพื่อใช้กับระเบียบนี้ โดยจำแนกออกเป็นดังนี้ คือ
          1) ใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์(ทบ.400-007) หมายถึง เอกสารซึ่งแสดงการขอเบิก                                    สิ่งอุปกรณ์ของหน่วยรับ และถือเป็นหลักฐานทางบัญชีระหว่างหน่วยรับกับหน่วยส่ง
          2) ใบส่งคืนและส่งสิ่งอุปกรณ์ (ทบ.400-014) หมายถึง เอกสารซึ่งแสดงความ                                        ประสงค์ในการส่งสิ่งอุปกรณ์กลับตามสายการส่งกลับ โดยถือเป็นหลักฐานทาง                                        บัญชีระหว่างหน่วยส่งกับหน่วยรับ
          3) ใบรายการสิ่งอุปกรณ์ในหีบห่อ(ทบ.400-021) หมายถึง เอกสารซึ่งหน่วยส่งได้                                  จัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายการและจำนวนสิ่งอุปกรณ์ที่บรรจุไว้ในหีบห่อนั้น ๆ
          4)ใบขอการขนส่ง(ทบ.461-002) หมายถึง เอกสารซึ่งแสดงความประสงค์เพื่อให้                                  หน่วยทหารขนส่งดำเนินการเคลื่อนย้ายกำลังพลและสิ่งอุปกรณ์ให้
          5) ใบตราส่ง(ทบ.461-003) หมายถึง เอกสารซึ่งสำนักงานขนส่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็น                                  หลักฐานรับมอบสิ่งอุปกรณ์ที่สำนักงานขนส่งรับไป  และรับว่าจะทำการขนส่งสิ่ง                                      อุปกรณ์ให้ตามรายการซึ่งปรากฏในใบตราส่งนอกจากนั้นยังเป็นหลักฐานที่                                              สำนักงานขนส่งใช้ในการส่งมอบสิ่งอุปกรณ์ให้แก่หน่วยรับ โดยปกติใบตราส่งย่อม                                    จัดทำขึ้นโดยอาศัยใบขอการขนส่งเป็นมูลฐาน
          6)ใบกำกับสิ่งอุปกรณ์ประจำพาหนะ(ทบ.461-004)หมายถึง  เอกสารซึ่งหน่วย                                        ปฏิบัติการขนส่งจัดทำขึ้นประกอบใบตราส่ง  เพื่อแสดงจำนวนสิ่งอุปกรณ์บนยาน                                      พาหนะแต่ละคันตามความเหมาะสม
       ท. การปฏิบัติต่อสิ่งอุปกรณ์โพ้นทะเล หมายถึง การรับสิ่งอุปกรณ์จากต่างประเทศและ                          การส่งสิ่งอุปกรณ์ไปนอกประเทศ

                                                                     ตอนที่ 2
                                                                    การส่งไป

         ข้อ 5. กรรมวิธีในการเบิกจ่าย
       ก. หน่วยรับ  ทำใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์ 4 ฉบับ ฉบันที่ 4 เก็บไว้เพื่อตรวจสอบและถือเป็น               หลักฐานของหน่วยในระหว่างรอรับสิ่งอุปกรณ์อีก 3 ฉบับ ให้ส่งไปยังหน่วยส่ง
       ข. หน่วยส่ง
          1) รับใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์ 3 ฉบับ ที่หน่วยรับส่งมา (1,2,3)
          2) ตรวจสอบใบเบิก
          3) นำเสนอผู้สั่งจ่ายเพื่ออนุมัติ
          4) ส่งใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์ฉบับที่ 2 และ 3 ซึ่งได้รับอนุมัติไปกับสิ่งอุปกรณ์หรือล่วง                        หน้า ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 3  ซึ่งจะเก็บไว้เป็นหลักฐานของหน่วยส่ง
          5) หากเจ้าหน้าที่ของหน่วยมารับสิ่งอุปกรณ์เองให้ลงชื่อไว้ในเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์                              ฉบับที่ 1 และ 3  ซึ่งจะจะเก็บไว้เป็นหลักฐานของหน่วยส่ง หากเจ้าหน้าที่ของหน่วยมารับ                          สิ่งอุปกรณ์เองให้ลงชื่อไว้ในใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์ ฉบับที่ 1 และ 3 ซึ่งจะเก็บไว้เป็น                              หลักฐานของหน่วยส่ง
       ค. แบบและวิธีเขียนใบเบิกสิ่งอุปกรณ์
          1) ประเภท 1,2,3 และ 4 ดูผนวก ก.
          2) ประเภท 5   ดูผนวก ก.1
ข้อ 6. กรรมวิธีในการส่งและรับสิ่งอุปกรณ์
    ก. การปฏิบัติของหน่วยส่ง
       1)ในกรณีที่หน่วยส่งส่งสิ่งอุปกรณ์ให้หน่วยรับโดยผ่านหน่วยทหารขนส่ง
          ก) ให้หน่วยส่งส่งใบเบิกและส่ง สป.หรือใบส่งคืนและส่ง สป.ซึ่งจะต้องส่งไปให้                                   หน่วยรับล่วงหน้า หรือส่งไปพร้อมกัน สป. นั้นแนบไปพร้อมกับใบขอการขนส่งและให้                               สขส.จัดส่งไปให้หน่วยรับต่อไป โดยจะส่งไปล่วงหน้าหรือส่งไปพร้อม สป.ก็ได้แล้ว                                 แต่ความเหมาะสมเว้นในกรณีการโอนและการแจกจ่ายโดยอัตโนมัติ เช่น การ                                           ปลดเปลื้องการค้างจ่าย, การจ่ายตามอัตราแบ่งมอบ เป็นต้น ให้หน่วยอ้างถึงที่ของ                                   เอกสารที่หน่วยเหนืออนุมัติไว้ในใบขอการขนส่ง
          ข) ทำใบรายการสิ่งอุปกรณ์ในหีบห่อขึ้น 2 ฉบับ (แบบและวิธีเขียนดูผนวก ค.)เก็บ                               ไว้ที่หน่วยส่ง1ฉบับอีก 1 ฉบับ บรรจุไปกับหีบห่อพร้อมสิ่งอุปกรณ์หากไม่สามารถ                                     บรรจุไว้ใน หีบห่อได้ให้ผูกมัดไปกับสิ่งอุปกรณ์เว้นสิ่งอุปกรณ์ที่มีรายการเดียว ซึ่งมี                                   ป้ายแสดงชนิดและจำนวนไว้ภายนอกหีบห่อนั้นแล้ว
          ค) จัดการบรรจุสิ่งอุปกรณ์ตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการทำหีบห่อ  และทำ                                   เครื่องหมายเพื่อการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ พุทธศักราช 2499
     ง) ทำใบขอการขนส่งขึ้น3ฉบับ(แบบและวิธีเขียนดูผนวก ง.)
             (1) เก็บไว้ที่ที่หน่วยส่ง 1 ฉบับ
             (2) อีก 2 ฉบับ ส่งไปยังสำนักงขนส่งต้นทางซึ่งสนับสนหน่วยส่งนั้น
             (3) ในกรณีที่มีความเร่งด่วนเป็นพิเศษอาจขอการขนส่งด้วยเครื่องมือสื่อสาร                                          ที่เหมาะสม โดยแจ้งรายละเอียดพอที่ให้สำนักงานขนส่งปฏิบัติได้  แล้วจึง                                                ยืนยันด้วยใบขอการ  ขนส่งตามไปภายใน 48 ชม.    
(4) ใบขอการขนส่งเพื่อส่งสิ่งอุปกรณ์อันตรายไวเพลิงให้หน่วยส่งประทับ                                              ตราว่า "อันตรายไวเพลิง" ด้วยอักษรสีแดง ขนาด 2 ซม. ไว้ที่ด้านหลัง
          จ) มอบสิ่งอุปกรณ์ให้กับสำนักงานขนส่งต้นทาง โดยรับใบตราส่งไว้แทน สิ่ง                                       อุปกรณ์ ที่สำนักงานขนส่งรับไป
          ฉ) แจ้งข่าวสารการส่งสิ่งอุปกรณ์ครั้งคราวนั้นๆ ให้หน่วยรับทราบล่วงหน้า
ช) ทำสถิติการส่งสิ่งอุปกรณ์ครั้งคราวนั้น
2) ในกรณีที่หน่วยรับ มารับสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยส่งเอง
          ก) แจ้งให้หน่วยรับทราบกำหนดวันในการรับสิ่งอุปกรณ์
                                   ข)จ่ายสิ่งอุปกรณ์พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้แก่หน่วยรับ
          ค) ทำสถิติการจ่ายสิ่งอุปกรณ์ครั้งคราวนั้น
                  ข.การปฏิบัติของสำนักงานขนส่ง
      1) สำนักงานขนส่งต้นทาง  เมื่อสำนักงานขนส่งต้นทางได้รับใบขอการขนส่งจากหน่วย                         ส่งเพื่อทำการส่งสิ่งอุปกรณ์ ให้ปฏิบัติดังนี้
         ก) เมื่อพร้อมที่จะทำการขนส่งให้เมื่อใดจะได้แจ้งกำหนดเวลาที่จะส่งพาหนะมายัง                                 หน่วยส่งและรายละเอียดที่จำเป็นอื่น ๆ ให้ทราบ
         ข) ทำ "ใบตราส่ง" ขึ้น5 ฉบับ (แบบและวิธีเขียน ดูผนวก จ.)
                                        (1) ฉบับที่1สำนักงานขนส่งต้นทางเก็บไว้เป็นหลักฐาน
            (2) ฉบับที่ 2 มอบให้หน่วยส่งไว้แทนสิ่งอุปกรณ์ที่รับไป
            (3) ฉบับที่ 3,4 และ 5 ส่งไปยังสำนักงานขนส่งปลายทาง และให้สำนักงาน                                            ขนส่งปลายทางนำไปให้หน่วยรับลงนามในขณะส่งมอบสิ่งอุปกรณ์ทั้ง 3 ฉบับ                                          ฉบับที่ 3 สำนักงานขนส่งปลายทางเก็บไว้เป็นหลักฐาน ฉบับที่ 4 หน่วยรับ   เก็บ                                        ไว้เป็นหลักฐานและฉบับที่ 5 ส่งกลับมายังสำนักงานขนส่งต้นทาง
         ค) หากการขนส่งร่วมกับกองทัพเรือ กองทัพอากาศ ให้ทำใบตราส่งเพิ่มขึ้นอีกตาม                                ความจำเป็น
* *ข้อง.หมายเหตุแก้ตามคำสั่ง ทบ.(ชี้แจง) ที่ 13/11673 (ครั้งที่ 2) ลง 31 พ.ค.03                                
         ง) การส่งสิ่งอุปกรณ์อันตรายไวเพลิง  ให้สำนักงานขนส่งต้นทางประทับตราบน                                  ใบตราส่งทุกฉบับว่า “ อันตรายไวเพลิง ” ด้วยอักษรสีแดง ขนาด 2 ซม.
         จ) ในกรณีที่หน่วยปฏิบัติการขนส่ง  ต้องทำการขนส่งสิ่งอุปกรณ์จำนวนมาก  และ                                 เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบจำนวนหีบห่อ ให้หน่วยปฏิบัติการขนส่งใช้ใบกำกับ                               สิ่งอุปกรณ์ประจำพาหนะ ประกอบกับใบตราส่งตามความจำเป็น (แบบและวิธีเขียนดู                                 ผนวก ฉ)
                               ฉ)ดำเนินการส่งสิ่งอุปกรณ์ตามประเภทการขนส่งที่เหมาะสม
         ช) ทำสถิติการส่งสิ่งอุปกรณ์ครั้งคราวนั้น
      2) การปฏิบัติของสำนักงานขนส่งปลายทาง
         ก) เมื่อทราบว่าสิ่งอุปกรณ์จะมาถึง ให้ปฏิบัติดังนี้
                                        (1)เตรียมการ ในเรื่องการรับมอบสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยทหารขนส่งหรือเจ้า                                              หน้าที่ขนส่งพาณิชย์
                                       (2) แจ้งให้หน่วยรับทราบถึงจำนวนสิ่งอุปกรณ์ และ วัน เวลาที่จะมาถึง
                                        (3) เตรียมแรงงานและเครื่องมือในการยกขน
         ข) เมื่อสิ่งอุปกรณ์มาถึงตำบลขนถ่าย
            (1) รับเอกสารที่เกี่ยวข้องจากเจ้าหน้าที่ขนส่งพาณิชย์
            (2) รับมอบสิ่งอุปกรณ์จากเจ้าหน้าที่ขนส่งพาณิชย์
            (3) ขนถ่ายสิ่งอุปกรณ์จากพาหนะของการขนส่งพาณิชย์สู่พาหนะของหน่วย                                          ปฏิบัติการขนส่ง
            (4) ขนสิ่งอุปกรณ์ไปยังหน่วยรับ
         ค) เมื่อสิ่งอุปกรณ์มาถึงหน่วยรับ ส่งมอบสิ่งอุปกรณ์ให้แก่หน่วยรับ  ณ ที่ตั้งหน่วย                                รับและปฏิบัติตามกรรมวิธีซึ่งกล่าวไว้ในข้อ 6 ข. 1.ข. (3)
         ง) จัดการเกี่ยวกับการเดินทางของสารวัตรทหาร หรือเจ้าหน้าที่ กำกับทาง                                          เทคนิค(ถ้ามี)
  จ) ทำสถิติการรับสิ่งอุปกรณ์ครั้งคราวนั้น
    ค. การปฏิบัติของหน่วยรับ
       1) ในกรณีที่หน่วยรับ รับมอบสิ่งอุปกรณ์จากสำนักงานขนส่ง
          ก) หน่วยรับอาจได้รับ
             (1) ใบเบิกและส่ง สป.ฉบับที่ 2 และ 3 ซึ่งหน่วยส่งส่งมาล่วงหน้า
             (2) ข่าวสารการส่งสิ่งอุปกรณ์ซึ่งหน่วยส่งแจ้งมา
             (3) ข่าวสารแสดง วัน เวลา ที่สิ่งอุปกรณ์จะมาถึง ซึ่งสำนักงาน ขนส่งปลายทาง                                         จะแจ้งให้ทราบ                                  
          ข) รับมอบจำนวนหีบห่อสิ่งอุปกรณ์ จากสำนักงานขนส่งปลายทาง  ลงชื่อใน                                        ใบตราส่งทั้ง 3ฉบับ และเก็บฉบับที่ 4 ไว้เป็นหลักฐาน
          ค) การตรวจรับสิ่งอุปกรณ์ภายในหีบห่อ  ให้จัดตั้งกรรมการตรวจรับสิ่งอุปกรณ์ขึ้น3                              นาย โดยมีนายทหารสัญญาบัตรอย่างน้อย 2 นาย และควรมีเจ้าหน้าที่สายยุทธบริการ                              หรือเจ้าหน้าที่สายบริการฝ่ายกิจการพิเศษ  ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย
          ง) เมื่อคณะกรรมการได้ตรวจและลงนามรับรองในใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์แล้วให้                                เจ้าหน้าที่ผู้รับ
                              จ) เจ้าหน้าที่ผู้รับ  รับมอบและลงนามในใบเบิกและส่ง สป.(ทบ.400-007)
          ฉ) ในการรับจะต้องนำใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์ของหน่วยฉบับที่ 4  มาตรวจสอบกับ                            ใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์ฉบับที่ 2หากจำนวนไม่ตรงกันให้บันทึกไว้ในใบเบิกฉบับที่ 4                                และใช้ใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์ ฉบับที่ 4 ประกอบการรายงานตาม สายการบังคับ                                    บัญชา
          ช) เก็บใบเบิกและส่งสิ่งอุปกรณ์ฉบับที่2ไว้เป็นหลักฐานของหน่วย
          ซ) ทำสถิติการรับสิ่งอุปกรณ์ครั้งคราวนั้น
       2) ในกรณีที่หน่วยรับไปรับสิ่งอุปกรณ์ ณ ที่ตั้งหน่วยส่ง
          ก) สอบใบเบิกฉบับที่ 4 กับฉบับที่ 1, 2, 3 ที่หน่วยส่ง
          ข) รับสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยส่ง
          ค) ลงนามรับสิ่งอุปกรณ์ในใบเบิกฉบับที่ 1, 3
          ง) รับใบเบิกฉบับที่ 2 ไว้เป็นหลักฐานของหน่วยรับ
          จ) ขนส่งสิ่งอุปกรณ์มายังหน่วยรับ
          ฉ) ทำสถิติการรับสิ่งอุปกรณ์ ครั้งคราวนั้น
         ข้อ 7. กรรมวิธีในการส่งมอบเอกสาร
       ก. เมื่อหน่วยส่งมีความประสงค์จะส่งเอกสารที่เกี่ยวกับการส่งสิ่งอุปกรณ์ในครั้งคราว นั้น                      ไปให้หน่วยรับ ให้มอบเอกสารกับเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งต้นทาง  เจ้าหน้าที่สำนักงาน                           ขนส่งที่ เกี่ยวข้องจะต้องส่งมอบเอกสารนั้นต่อไปจนถึงหน่วยรับ
                        ข.หากมีการส่งสิ่งอุปกรณ์โดยการขนส่งพาณิชย์ ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งต้นทาง                           มอบเอกสารในการส่งสิ่งอุปกรณ์ทั้งสิ้นในครั้งคราวนั้นให้เจ้าหน้าที่ควบคุมพาหนะของการ                       ขนส่งพาณิชย์นั้น ๆ เพื่อนำไปยังสถานีปลายทาง ทั้งนี้ ทบ.จะเป็นผู้ตกลงรายละเอียดกับ                         การขนส่งพาณิชย์เป็นราย ๆ ไป
                         ค. สำนักงานขนส่งปลายทางหรือหน่วยรับจะต้องขอรับเอกสารจากเจ้าหน้าที่การขนส่ง                       พาณิชย์ ณ สถานีปลายทาง หากสำนักงานขนส่งปลายทางเป็นผู้รับเอกสารนี้จะต้องนำไป                       มอบให้หน่วยรับต่อไป                                    
         ข้อ 8. การบรรทุกและการยึดตรึง
       ก. การขนขึ้น เมื่อสำนักงานขนส่งต้นทางส่งพาหนะไปรับสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยส่ง  ให้                          หน่วยส่งดำเนินการขนส่งสิ่งอุปกรณ์ขึ้นบนพาหนะภายใต้การกำกับการของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ                    การขนส่งกับให้เจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งตรวจสภาพหีบห่อ หากเห็นว่าไม่รัดกุมเพียงพอก็                      ให้หน่วยส่งจัดการ  แก้ไขเสียใหม่  ส่วนการยึดตรึงนั้นให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานขนส่ง
       ข. การขนถ่าย  ระหว่างการขนส่งสิ่งอุปกรณ์เมื่อจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนประเภทการขนส่ง                    หรือเปลี่ยนพาหนะให้หน่วยทหารขนส่งดำเนินการขนถ่ายสิ่งอุปกรณ์นั้นจนเป็นที่เรียบร้อย
       ค. การขนลง เมื่อหน่วยปฏิบัติการขนส่งนำพาหนะที่บรรทุกสิ่งอุปกรณ์ไปถึงหน่วยรับแล้ว                    ให้เจ้านห้าที่หน่วยสำนักงานขนส่งปลดเครื่องยึดตรึงออก และให้หน่วยรับดำเนินการขนสิ่ง                      อุปกรณ์ลงจากยานพาหนะภายใต้การกำกับการของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการขนส่ง
       ง. การกำกับการ  ในกรณีที่หน่วยส่งพิจารณาเห็นว่าการส่งสิ่งอุปกรณ์ใดควรกำกับการ                          ทางเทคนิคก็ให้หน่วยส่งจัดเจ้าหน้าที่กำกับการตามความจำเป็นและให้สำนักงานขนส่ง                            จัดการเกี่ยวกับ การเดินทางให้
       จ. การว่าจ้าง ในการขนขึ้น ขนถ่าย และขนลงหากไม่มีเครื่องมือยกขนหรือแรงงาน หรือ                      สิ่งอุปกรณ์มีลักษณะหรือจำนวนเกินขีดความสามารถของเครื่องมือยกขน หรือแรงงานที่มีอยู่                    ให้หน่วยที่รับผิดชอบในการขนขึ้น ขนถ่ายและขนลง ว่าจ้างเครื่องมือยกขนหรือแรงงาน เพื่อ                    ดำเนินการดังกล่าวแล้วได้ตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยที่รับ                    ผิดชอบนั้น ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น